เมนู

3. อธิปติปัจจัย


[1489] 1. อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทิน-
นุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะการทำจักษุให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะย่อม
เกิดขึ้น ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น. บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำ
โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ
ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม และขันธ์ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม ให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำโสตะเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นแล้ว ราคะย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น.
2. อนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่
อนุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม แล้วกระทำกุศล
นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
กระทำกุศลที่สั่งสมไว้ดีแล้วในกาลก่อน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
แล้วพิจารณา.
ออกจากฌาน กระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้วพิจารณา.